Neon Genesis Evangelion มันมากกว่าการปกป้องโลก
บทนำ
อีวานเกเลียน มหาสงครามวันพิพากษา หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Neon Genesis Evangelion เป็นการ์ตูนอะนิเมะชุดสำหรับฉายทางสถานีโทรทัศน์ สร้างโดยสตูดิโอไกแน็กซ์ (Gainax) เขียนบทและกำกับโดย ฮิเดอากิ อันโน และร่วมผลิตโดยทีวีโตเกียว และ Nihon Ad Systems เริ่มฉายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 และมีการนำมาทำในรูปแบบภาพยนตร์ไหม่ (อีวานเกเลียน: จุติภาค (Evangelion: Death and Rebirth) ฉายเมื่อ15มีนาคม1997 และปัจฉิมภาค (The End of Evangelion) ฉายเมื่อ19กรกฎาคม1997 ) หลังจากนั้น ประมาณ 10 ปี ก็ได้นำมาสร้างไหม่อีกครั้งในรูปแบบหนังโรง โดยจะมีทั้งหมด 4 ภาค โดยในภาพยนตร์ภาคแรก Evangelion1.0 : You Are (Not) Alone (2007) จะเป็นการเล่าเรื่องตามเนื้อหาเดิมที่ออกฉาย 6 ตอนแรกแต่มีการปรับปรุงฉากและภาพทั้งหมด ส่วนภาพยนตร์ภาคที่สอง Evangelion2.0 : You Can (Not) Advance โดยมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทตัวละครและเนื้อเรื่องใหม่หมด ส่วนในภาค 3 และ 4 ยังไม่มีการกำหนดออกฉาย
เป็นการ์ตูนอะนิเมะที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในด้านความนิยม ด้านการค้า นอกจากนี้ ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการการ์ตูนญี่ปุ่นในสมัยนั้น และก่อให้เกิดแฟรนไชส์สินค้าและสื่ออีวานเกเลียนขึ้นมากมาย นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลอะนิเมะใหญ่หลายรางวัล จนได้รับการยอมรับในหลายๆ แห่งว่า เป็นหนึ่งในการ์ตูนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
ด้วยเหตุนี้จนถึงปัจุบัน อีวาเกเลี่ยน ยังคงถูกพูดถึงอยู่เสมอมา โดยไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้ชมรุ่นเก่าเท่านั้นแม้แต่ผู้ชมรุ่นใหม่ก็ยังคงพุดถึงอยู่
หลายๆท่านอาจจะยังไม่รู้หรือรู้จักบ้างแต่ไม่รู้เนื้อเรื่องจริงๆของการ์ตูนเรื่องนี้ผมขอเล่าเรื่องย่อแบบคร่าวๆ ให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับการ์ตูนเรื่องนี้กัน
“ในปี ค.ศ. 2015 เป็นเวลา 15 ปีหลังจากหายนะที่เรียกว่า เซคันด์อิมแพกต์ การตกกระแทกของอุกาบาตขนาดใหญ่ที่มีสิ่งมีชีวิตพิเศษที่เรียกว่าอดัม ตกที่ขั้วโลกใต้ เป็นเหตุให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งเป็นเหตุทำให้ประชากรของโลกจำนวนมากต้องล้มตายลงเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด เหล่าผู้นำประเทศระดับสูงจึงได้เริ่มมีการจัดตั้ง สหประชาคมโลกและองค์กรพิทักษ์มนุษยชาติ โดยมีการตั้งเมืองแบบใหม่แทนที่เมืองที่ถูกจมลงในทะเล โดยมีการสำรวจความเสียหายและการวิจัยเศษซากของอุกาบาตนั้น ได้พบกับ เทวทูตตนที่ 1 คือ ตัวอ่อนของอดัม และ เทวทูตตนที่ 2 คิอ ลิลิธ โดยทำการผลึกไว้ที่เมืองใหม่ที่ชื่อ เนโอโตเกียว แห่งที่ 3 ด้วย หอกลองกินุสเพื่อยับยังการคืนชีพของเทวทูตตนที่ 2 โดย เนโอโตเกียวแห่งที่ 3 เป็นเมืองหน้าด่านในการป้องกันโลกจากการจู่โจมของ เทวทูต ด้วยโครงสร้างพิเศษ เพื่อป้องกันการนำ ลิลิธออกมานั่นเอง โดยใช้อาวุธชีวะภาพที่ได้สร้างขึ้นด้วยมนุษย์จากข้อมูลที่เหลืออยู่ในอุกกาบาตที่ตกลงมาที่ขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นมาและใช้ชื่อเรียกว่า อีวานเกเลียน ....”
การ์ตูนเรื่องนี้ได้เอาสัญลักษณ์และเนื้อหาทางศาสนาคริสเตียน (จูเดโอ-คริสเตียน) จากพระธรรมปฐมกาล (Book of Genesis)ในคัมภีร์ของศาสนายิว และคริสต์ และเรื่องเล่าทางศาสนาต่างๆมาใช้ในการดำเนินเรื่อง เช่น ข้ารับใช้ของพระเจ้า 12 องค์,Dead Sea Scrolls,หอกลองกินุส,และต้นไม้แห่งสติปัญญา
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของจิตวิทยา เรื่องครอบครัว การก้าวพ้นวัย การวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ตัวละครหลักถึงเป็นเช่นนั้นโดยย้อนไปดูเรื่องราวของตัวละครในสมัยเด็ก ทำไห้เห็นว่าพวกเขานั้นมีปัญหาด้านอารมมาตั้งแต่เด็ก จนกระทั่ง”ฟางเส้นสุดท้าย”ขาดลงพวกเขาก็ป่วยทางจิตในที่สุด
การดำเนินเรื่องจะวนเวียนและตั้งคำถามซ้ำไปซ้ำมา จนทำให้ตัวละครสับสนว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่นนั้นคือเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และการเล่าเรื่องหรือตัวละครในเรื่องเองก็ไม่ยอมบอกเนื้อเรื่องออกมาตรงๆ โดยให้ผู้ชมไปคิดและวิเคราะห์กันเอาเอง จึงเป็นสาเหตุที่หลายๆคนสับสนและงงงัน(บางคนอาจถึงขั้นเกลียด)ในตอนจบของเรื่อง ส่วนตอนจบเป็นเช่นไรนั้นอยากให้ไปลองดูกันเอาเองจะดีที่สุดครับ
อนึ่ง ฮิเดอากิ อันโน ผู้กำกับของเรื่อง เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก่อนที่จะเริ่มสร้างเรื่องนี้ เขาได้นำประสบการณ์ตรงของตัวเองในการที่จะเอาชนะโรคซึมเศร้า มาเป็นแนวความคิดของตัวละคร
แอดเลอร์ที่ได้กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางสังคม โดยกล่าวว่าทฤษฎีพัฒนาการทางสังคมเริ่มจากครอบครัวเป็นหลัก “บุคคลอยู่ในสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่จะต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา และบุคคลนั้นจะต้องมีการยอมรับว่าสังคมมีความคาดหวังอะไรจากตน ฉะนั้น เด็กจึงควรต้องมีการเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างตามกฎเกณฑ์ของสังคม เมื่อเด็กได้ปฏิบัติตามสังคมแล้วจะทำให้สังคมยอมรับ และบุคคลจะมีโอกาสเข้าร่วมอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี”
เนื้อหาที่อีวาเกเลี่ยนมักจะนำเสนอก็คือ ปมด้อยของตัวละครต่างๆในเรื่อง โดยตัวเอกของเรื่องอย่าง ชินจิ เองจะเห็นได้เด่นชัดมากๆ เพราะ ชินจิ เติมโตอย่างไร้ความอบอุ่นจากครอบครัว เนื่องจากแม่ได้เสียชีวิต ส่วนพ่อก็ทิ้ง ชินจิ แล้วสนใจแต่เรื่องการปกป้องโลก แถมยังมองชินจิเป็นเพียง “ตัวหมาก” ในแผนการบางอย่าง
โดยตามทฤษฎีพัฒนาการทางสังคม ปมด้อยของชินจิ (รวมทั้งอาสึกะ และ เรย์) ก็คือ ครอบครัว เพราะเป็นสังคมแรกและเป็นสังคมหลักที่ต้องพบเจอ และครอบครัวก็สร้างบาดแผลที่ฝังลึกในจิตใจจนกลายเป็นปมด้อย ชินจิ มักจะบอกว่ารังเกียจพ่อของตัวเองก็จริงอยู่ แต่สุดท้ายในใจลึกๆแล้วสุดท้ายเขาโหยหาความรักจากพ่อของเขา การเอาชนะปมด้อยของชินจินั้นเป็นการพร่ำเพ้ออยู่ในใจ แทนที่ตัวเองจะลงมือทำ ผลสุดท้ายจิตใจก็เข้าขั้นวิกฤต จนทำร้ายตัวเองและผู้อื่น
พื้นที่ส่วนตัว/หนีโลก
พื้นที่ส่วนตัว/หนีโลก
สิ่งที่ชินจิมักจะทำในเรื่อง และชอบปรากฏให้เห็นนั่นก็คือ เครื่องเสียงพกพานั่นเอง แล้วทำไมต้องเครื่องเสียงพกพาล่ะ? เพราะมันก็คือการสร้าง อาณาจักส่วนตัวได้ง่ายสุดๆ แค่เสียบหู แล้วเปิดเพลง คุณจะไม่ได้ยินอะไรนอกจากเพลงที่เปิดอยู่อย่างน้อยก็ตัดขาดจากโลกภายนอกไปแล้วส่วนหนึ่ง ในกรณีของชินจิไม่แค่ต้องการสร้างโลกของเขาเองเท่านั้น แต่เป็นการบ่งบอกถึกความต้องการ “ความอบอุ่น” จากผู้เป็นพ่อ เพราะเครื่องเสียงที่ชินจิใช้ในอดีตเคยเป็นของพ่อมาก่อน
และสิ่งนี้เป็นการพูดถึงสังคมญี่ปุ่นในเมืองใหญ่ มันกลายเป็นอุปกรณ์ที่คนญี่ปุ่นใช้ในการจัดแบ่งกันระหว่างพื้นที่สาธารณะกับพื้นที่ส่วนตัว เพราะความเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่สาธารณะกับพื้นที่ส่วนตัว และถึงแม้ว่าทุกวันนี้เครื่องเสียงพกพาจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์อื่นๆอย่างเช่นมือถือแล้วแต่มันก็ถูกใช้ในรูปแบบเก่าเหมือนเดิม
และ ชินจิ พยายามเข้าสู่สังคมและยอมเปิดใจกับคนรอบข้าง แต่บ่อยครั้งมักนำเรื่องร้ายๆมาสู้ตัวเขาและเพื่อนๆ บวกกับปัญหาจากปมด้อยของเขาที่มีอยู่แล้ว เขาก็เลยเลือกที่จะทำตัวเองเป็นหุ่นยนต์ โดยทำตามคำสั่งอย่างเดียวไม่โต้แย้งใดๆ เพราะชินจิบ่นไว้ว่า”ถ้าเราทำดีก็แค่เสมอตัวแต่พอทำพลาดก็จะโดนผู้อื่นเหยียบย่ำ”และเมื่อหนักเข้าก็หนีโลกไปเลยโดยเดินไปเรื่อยๆพร้อมกับใช้เรื่องเสียงพกพาไปด้วยเพื่อ เป็นการสร้างเกราะกำแพงปิดกั้นตัวเองจากโลกภายนอกจากสิ่งที่ ชินจิเองไม่ต้องการ
นอกจากชินจิแล้วตัวละครอีกสองตัวก็มีจิตใจและความรู้สึกที่เปราะบางกว่าปกติ เนื่องจากอดีตอันโหดร้ายของแต่ละคนทำให้เกิดอาการ “หนีโลก” ในแบบของตัวเองเช่นเดียวกัน
โดยข้อมูลจากหลายๆแห่งได้อธิบายถึงอาการของคนที่เป็น ฮิคิโคโมริในทำนองเดียวกัน คือมักจะเก็บตัวในห้องส่วนตัว(หรือในบ้าน) กินและนอนอยู่ในนั้นเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ยอมไปโรงเรียนไปไปไหน ไม่พบใคร ไม่สนใจใครโดยกิจกรรมที่ทำของคนที่มีอาการนี้อาจจะอ่านหนังสือการ์ตูน เล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต ดูทีวี อยู่ในห้องคนเดียวไม่พูดกับใครได้เป็นเดือน ๆ หรือเป็นปี ๆ
”ถ้าเราทำดีก็แค่เสมอตัวแต่พอทำพลาดก็จะโดนผู้อื่นเหยียบย่ำ” เป็นสิ่งที่ชินจิบ่นไว้ครั้งหนึ่งในเรื่อง คำพูดนี้เป็นสัญญาณที่กำลังจะบอกถึงการ เขามีความหวาดระแวง และ ความน้อยเนื้อต่ำใจ ในจิตใจของเขา เปรียบเสมือนอาการเริ่มต้นของ ฮิคิโคโมริ อย่างที่กล่าวไปในเรื่องปมด้อย ชินจิเองเติบโตมาอย่างไม่สมบรูณ์ของครอบครัว เขาจึงจัดอยู่ในพวกที่กลัวโลกแห่งความจริง เพราะด้วยสาเหตุหลายๆอย่าง บาดแผลที่เกิดขึ้นมาในชีวิต นั่นคือความอบอุ่นจากครอบครัวที่ไม่สมบรูณ์ของเขาเอง เขาจึงมีการพัฒนาทางอารมณ์แบบขึ้นๆลงๆ คือ หลังจากที่อยู่กับคนอื่น ก็ปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นได้(แต่ใช้เวลาสักหน่อย) แต่พอมีเจอเรื่องหนักๆก็จะหนีเข้าโลกส่วนตัวเหมือนเดิม พอบ่อยๆนานๆ อาการหนีโลกของชินจิ จึง เข้าขั้นวิกฤตถึงขีดสุด
แม้ว่าตัว ชินจิเอง จะยังไม่ได้มีลักษณะแบบ ฮิคิโคโมริ แบบเต็มขั้นนั้นเพราะเขายังมีความกล้าที่จะเผชิญกับโลกภายนอกอีกครั้ง แต่ถึงยังไงนั้นสิ่งที่ต้องเผชิญในสังคมรอบๆตัวในที่ๆเขาพบเจอมันเริ่มกัดกร่อนความกล้าที่เขามีอยู่เพียงน้อยนิด ไห้ลดลงไปที่ละน้อยๆ ความผิดหวังต่างๆประดังเข้ามา การจมปลักอยู่กับความสิ้นหวัง และโทษตัวเองและผู้อื่น(หลักๆเลยคือพ่อของเขา) อยู่ซ้ำๆ นี้ถือว่าเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่จะตัดสิน จิตใจของเขา เพราะเหตุนี้เองในช้าหรือเร็ว ชินจิก็จะเข้าสู่โลกของ ฮิคิโคโมริ อย่างเต็มตัวอย่างแน่นอน
แต่อยากไรก็ตามแพทย์หลายๆคนได้กล่าวเสริมในทำนองคล้ายๆกันว่า ฮิคิโคโมริ ควรเป็นปรากฏการณ์ (Phenomenon) ไม่ใช่ โรค (Syndrome) เพราะการไปจำเพาะว่าเป็น "โรค" หรือ "กลุ่มอาการ" และมันจะกลายเป็นตัวบีบให้คนที่มีอาการฮิดิโคโมริออกจากสังคมไป
ว่านอนสอนง่าย
อีวานเกเลี่ยน ที่เหล่าเด็กๆที่ถูกเลือกขึ้นไปบังคับนั้น หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นหุ่นยนต์ แต่จริงๆมันไม่ไช่เลยครับ มันเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายที่มนุษย์ มีกล้ามเนื้อ มีเลือด มีลำไส้ พูดง่ายๆเลยก็คือ มันเป็นมนุษย์ยักษ์ที่ใส่ชุดเกราะ
โดยมีแชล ฟูโก ได้พูดถึงเรื่อง “ความว่านอนสอนง่าย” ในมนุษย์จักรกล เขียนโดย ลา เมนทรี ในหนังสือ LES CORPS DOCILES ว่า “คือทำร่างกายให้ยอมจำนน ซึ่งนำไปใช้สอย แปรรูป และทำให้สมบูรณ์แบบได้ เป็นเครื่องมือทางอำนาจ”
แต่การที่จะควบคุม สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ยักษ์ขนาดนี้ได้มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆแน่นอน ด้วยเหตุนี้จึงมีการย่นย่อ ขนาดลงมานั้นก็คือคนขับนั้นเอง และคนขับก็เป็นเด็กๆที่ล้วนมีบาดเพล ปมด้อย และจิตใจก็ไขว่เขว พวกเขาคิดว่าไม่มีที่จะไห้เขาอยู่อีกแล้ว การได้ขับอีวาเกเลี่ยนจึงเหมือนเครื่องมือที่ไว้ พิสูจน์ตัวตนของพวกเขา จึงสามารถฝังกฎข้อบังคับต่างๆทำให้เกิด ความว่านอนสอนง่าย โดยฝึกอย่างซ้ำๆ เช่นการควบคุมการเดินของมนุษย์ยักษ์ การใช้อาวุฒิ การยิงปืน และอื่นๆ “ทำให้เกิดการประสานกันของร่างกายกับวัตถุ” [จากหนังสือ LES CORPS DOCILES] โดยทำให้คนขับ อีวาเกเลี่ยน เปรียบเสมือนกฎข้อบังคับ แล้วนำไปปลูกฝัง (เข้าไปขับ) ในตัวของมนุษย์ยักษ์
อีวานเกเลี่ยนนั้นจะต้องมีสายไฟส่งพลังงานติดอยู่ตลอดเวลา เมื่อสายไฟหลุดหรือขาด อีวานเกเลี่ยนจะต้องใช้แบตเตอรี่สำรองในตัวให้สามารถทำงานได้เพียงสามนาทีเท่านั้น นี่อาจจะเป็นข้อจำกัดของอีวานเกเลี่ยน แต่หากมองในมุมหนึ่งนี่อาจเป็นมาตรการณ์ ฉุกเฉินยามเมื่อมีการฝ่าฝืนก็เป็นได้
เพราะอีวาเกเลี่ยนมีอาการที่ปรากฏอยู่บ่อยครั้งคืออยู่ในภาวะ คลั่ง ขึ้นมา และอยู่เหนือการควบบ่อยๆเมื่อหลุดจาก “กฎ” (คนขับ) จนต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยหลายอย่างหรือจะว่าเป็นการลงโทษผู้ที่ต้อต้านด้วย เช่น ระบบดีดตัวห้องนักบินออกฉุกเฉิน ระบบทำลายตัวเอง ระบบแช่แข็งหุ่นให้หยุดการเคลื่อนไหว หรือการตัดสายสายไฟส่งพลังงานออก
เป็นใครโดนทำเป็น "หุ่นเชิด" อย่างนั้นย่อมต้องรู้สึกไม่ชอบเป็นธรรมดา.....
Comments
Post a Comment