Kokuhaku (2010) คำโกหก และ ปมด้อย

127640237608616308133
 

Confession หรือ Kokuhaku เป็นผลงานของ Tetsuya Nakashima ผู้สร้าง Kamikaze Girls (2004) และ Memories of Matsuko (2006) และอีกหลายเรื่อง และถ้าไครได้เคยได้สัมผัสกับสองเรื่องที่กล่าวมาแล้ว มันเป็นหนังที่เต็มไปด้วย สีสันที่ฉูดฉาด องค์ประกอบแปลกๆ การแสดงและการนำเสนอภาพที่เหนือจริง อย่างเช่นในเรื่อง Kamikaze Girls ให้ตัวละครที่แต่งชุดโลลิต้ามายืนท่ามกลาง ทุ่งนาสีเขียว
Confession สร้างมาจากนิยายขายดีของ Kanae Minato โดยหนังได้รับเลือกให้เป็นหนังตัวแทนประเทศญี่ปุ่นเข้าประกวดรางวัลออสการ์ปีที่ผ่านมา และเข้าถึงรอบ 9 เรื่องสุดท้าย นอกจากนั้นยังคว้ารางวัลในเทสกาลภาพยนต์ระดับนานาชาติ

หนังมีฉากแรงๆไม่ว่าจะเป็นฉากโยนเด็ก 4 ขวบจมน้ำตาย, อาจารย์ฆ่าเด็ก, เด็กฆ่ากันเอง, แม่ฆ่าลูก, ลูกฆ่าแม่ แต่ไม่ไช่การเอามีดวิ่งไล่แทงกัน ซึ่งหนังเรื่องนี้มีชั้นเชิงมากกว่าที่คิด
kokuhaku3

Confession เปิดเรื่องในช่วงวันสุดท้ายก่อนปิดภาคเรียน ในคาบโฮมรูม ในระหว่างที่มีการแจกนม ซึ่งมีการตักภาพนักเรียนที่กำลังคุยจ้อ กดโทรศัพท์ แกล้งเพื่อนอย่างสนุกสนาน ในระหว่างนั้นมีการถ่ายภาพที่ดูช้ามากๆบรรยากาศโทนมืดๆ และยูโกะอาจารสาวหน้าตายได้เข้ามา พูดกับนักเรียนทุกคนว่า วันนี้จะเป็นวันสุดท้ายของเธอในฐานะครูประจำชั้น และอยากจะสอนบทเรียนสุดท้ายให้กับทุกคน

คุณครูสาวก็เกริ่นเรื่องราวของตัวเอง เริ่มตั้งแต่การท้องก่อนแต่ง สามีที่ติดเชื้อ H.I.V และชีวิตหลังคลอดลูกที่อดสู การที่ต้องเป็นแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกอย่างลำพัง ซึ่งจะค่อยเกริ่นไปอย่างเนิบๆ ตัดกับภาพในอดีตของครูสาว ต่อมาครูสาวก็เล่าถึงลูกสาววัยสี่ขวบ และเมื่อไม่กี่วันก่อน ลูกสาวของเธอได้จมน้ำเสียชีวิตที่สระว่ายน้ำของโรงเรียนที่เธอ ทำงานอยู่ ตำรวจสรุปว่านี่เป็นอุบัติเหตุเพราะ ลูกสาวของเธอได้แอบไปไห้อาหาร สุนัขที่อยู่ข้างๆสระ อาจทำไห้ลื่นตกลงไป แต่เธอไม่ได้คิดแบบนั้น เธอคิดว่าต้องมีคนทำร้ายลูกของเธอ จากนั้นเธอได้เริ่มสืบหาจนได้รู้ว่าเป็นเด็กนักเรียน 2 คนในห้องเรียนแห่งนี้ และได้แฉพวกเขา ถึงไม่ได้เอ่ยชื่อแต่ลักษณะที่ครูสาวได้บอกออกไป ก็ทำให้ทั้งห้องล่วงรู้ว่าเป็นใคร และเธอก็เตรียมล้างแค้นแทนลูกของเธอ โดยขั้นแรก ครูสาวได้บอกว่าเธอได้ผสมเชื้อ H.I.V ที่เด็ก 2 คนนั้นได้กินเข้าไปแล้ว และนี่คือจุดเริ่มต้น ของการล้างแค้นของเธอ
kokuhaku1

สิ่งที่กล่าวมาขั้นต้นนั้นใช้เวลาไปทั้งหมดกว่า 30 นาที แถมตอนช่วงที่อาจารย์โฮมรูม ภาพที่ท่ายทอดออกมาเป็นชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมในห้องเรียน แล้วทำภาพให้ดูช้า ดูอ้อยอิ่ง น่าเบื่อหน่าย ซึ่งจริงๆแล้วมันสามารถทำเป็นหนังได้เรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เหมือนกับการทดสอง ของผู้สร้างที่ส่งไปยังผู้ชมเพราะมีทุกอย่างตั้งแต่เริ่มเรื่องเป็นภาพอาจารย์สาวเลี้ยงลูก จนนำไปสู่เหตุการณ์ที่ลูกตัวเองเสียชีวิต การสืบสวนของอาจารย์ และจบด้วยการเฉลยว่ามีเชื้อเอดส์ผสมลงในนม เหมือนกับทุกอย่างได้เฉลยและจบสิ้นไปแล้ว ซึ่งเป็นการเล่าที่ทรงพลังมากๆ เหมือนเป็นการทุบความคาดหวังของคนดุไห้เป็นเสี่ยงๆ

แล้วทำไมถึงทำอย่างนั้น เพราะเหมือนจะบอกว่า เราเชื่อคำสารภาพ ได้แค่ไหน คำสารภาพมันเป็นสิ่งที่จะคู่ควรกับความจริงได้หรือ เพราะมีความหมายประมาณว่า ถ้อยคำ ข้อความ ที่พูดหรือเขียนเพื่อแสดงการยอมรับว่าได้กระทำผิดหรือเกี่ยวข้องในความผิด หรือใน พจนานุกรม ไทย ราชบัณฑิตยสถานได้พูดไว้คล้ายกันว่า รับว่ากระทำผิด หรือ บอกความในใจ และคำสารภาพนั่นก็มีประโยชน์ในทางคดีความของตำรวจ แต่เราคิดว่าคำสารภาพนั้นถูกต้องหรือไม่ คิดว่าการสารภาพจะทำไห้ทุกอย่างจบได้หรือ คิดว่าสารภาพความจริงไปแล้ว จะเกิดให้อภัยกันทุกครั้งหรือไม่ ถ้าคำสารภาพมันไม่ถูกต้องล่ะ สารภาพในเรื่องที่เลวร้ายล่ะ แล้วถ้าไม่มีคนเชื่อล่ะ มันจะเกิดอะไรขึ้น เพราะแทบทุกคนเลือกที่จะโกหก หลอกลวง เพื่อให้ตัวเองหลุดพ้น

ในตอนเริ่มเรื่องนั้น เหมือนหนังต้องการจะมอบคำสารภาพของอาจารย์ให้กับคนดู ไม่ได้มอบไห้กับนักเรียนในชั้น โดยให้ผู้ชมหลงเชื่อไปกับคำสารภาพ ก่อนจะทุบทิ้งอย่างไม่ใยดี

ในช่วงต้นเรื่องอาจารย์สาวได้สารภาพ ถึง 3 เรื่อง เรื่องแรกเป็นเรื่องการตายของลูกสาวของเธอ ที่เธอคิดว่ามันไม่ใช่อุบัติเหตุ เรื่องที่สอง คือ เธอรู้แล้วว่ามีนักเรียน 2 คนในห้องนี้เป็นฆาตกร และเรื่องที่สาม คือเธอได้ผสมเชื้อเอดส์ ลงไปในนมที่นักเรียน 2 คนนั้นดื่ม ซึ่งเรื่องนี้ดูเหมือนจะน่าเชื่อถือ เหมือนหนังจะพาไปชมชีวิตของเด็กที่ดื่ม นมผสมเชื้อเอดส์เข้าไปว่าจะจบแบบไหน แต่จริงๆแล้วหนังต้องการจะบอก ความจริง ที่ถูกต้อง โดยจะเล่าเรื่องอย่างเนิบๆ แบบอ่อยอิ่ง ของตัวละครในเรื่องทั้ง 4 คน เน้นใช้การ สโลโมชั่น ก่อนที่จะทิ้งระเบิดลงด้วย ประเด็นใหม่ๆที่ค่อยๆคลายปมออกมาทีล่ะนิด ปะปนกับความเหนือจริงเป็นครั้งคราว หรือการที่อยู่ดีๆก็เอาเสียงดนตรีแบบการ์ตูน พร้อมกับการถ่ายภาพที่รวดเร็ว

ความจริงทุกอย่างก็ค่อยๆเปิดเผยมาทีล่ะนิด โดยเริ่มกับตัวละครทั้ง 4 ตัว โดยขึ้นต้น ว่าคำสารภาพของคนนั้น คนนี้ กำสารภาพของแต่ล่ะคนเปรียบดั่งระเบิดที่ใกล้ถึงเวลาที่จะระเบิด หนังได้เน้นเฉพาะด้านมืดของตัวละครแต่ล่ะตัวทำให้เราได้เห็นถึง ตัวละครที่ถึงแม้จะมีแผลในใจ แต่ทุกคนก็ล้วนมีด้านมืดที่จ้องจะโกหก ,หลอกลวง หลอกใช้ และใช้ประโยชน์จากคำสารภาพ เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
และเมื่อทุกคนจ้องจะโกหก ,หลอกลวง และหลอกใช้ และใช้ประโยชน์จากคำสารภาพ ก็ก่อให้เกิดเรื่องร้ายแรงตามอย่างคิดไม่ถึง เหมือนกับการที่ถ้าตำรวจหลงเชื่อคำสารภาพของฆ่าตกร โดยไม่คำนึงถึงเหตุและผล หายนะก็ตามมาอย่างไม่ช้าหรือเร็ว

หนังได้บอกถึงสิ่งที่ทุกคน โกหก ,หลอกลวง และหลอกใช้ และใช้ประโยชน์คำสาระภาพ ยังไงและผลที่ตามมา เช่นการที่นายเอไม่เชื่อเรื่องที่อาจารย์บอกแต่ก็กลับไปใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของตัวเอง คือการที่จะทำให้แม่ที่จากไปกลับมาหาเขา การสารภาพเรื่องโกหกที่ผสมเชื้อเอดส์ลงในนมนายเอก็ เอาไปเป็นประโยชน์เพื่อไห้แม่ได้กลับมาหาเขา การสารภาพของนายเอ ต่อ นายบีเรื่องที่หลอกใช้กลับกลายเป็นสิ่งที่ทำไห้เกิดเรื่องสุดสยอง และการใช้ประโยชน์คำสาระภาพเรื่องของแม่ของนายเอจากอาจารย์สาว ที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งพูดไว้ก่อนโดนนายเอฆ่า (หนังหลอกคนดูโดยให้อาจารย์สาวร้องไห้ ก่อนจะตบคนดูด้วยคำพูดว่า งี่เง่าสิ้นดี ถ้าเป็นหนังทั่วๆไปเรื่องคงจะเปลี่ยนแต่ไม่ใช่ใน Confession แน่นอน หรือกรณีที่นายเอรักกับเพื่อนร่วมห้องที่เป็นฆ่าตกร ลูนาซี่ ถ้าเป็นเรื่องอื่นเรื่องคงจะมีทิศทางไปทางอื่นที่อาจจะเป็นไปในทางที่ดี แต่ Confession ก็ไม่ทำ เป็นการบอกว่าคนเราเลวยังไงก็เลวแบบนั้น)
confessions-mp4_005343588

มีการปู ปม ที่หน้าสนใจ และบางสิ่งบางอย่างมันช่างสอดคล้องกับ ทฤษฎีบุคลิกภาพของ อัลเฟรด แอดเลอร์ ในเรื่องของ ปมด้อย อัลเฟรด แอดเลอร์ เชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนล้วนมีปมด้อย ติดตัวมาตั้งแต่เกิดเป็นทารก ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ต้องคอยพึ่งพาคนอื่น จึงมีความพยายามที่จะเอาชนะปมด้อย ที่เกิดจากการคอยเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน ทางรูปกาย ทางเชาว์ปัญญา ทางความสามารถประกอบกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง และสถานภาพทางสังคมอันไม่เคยสมบูรณ์ในตัวมันเอง จึงเป็นแรงจูงใจให้เราต้องคิดทำสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ดิ้นรนไปสู่สิ่งที่ดีเด่นกว่ากันตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความรู้สึกมั่นใจ ภูมิใจและสบายใจ

หรือพูดให้สั้นๆคือ แรงจูงใจของมนุษย์เราเกิดจาก ความต้องการเอาชนะ “ปมด้อย”ซึ่งแตกต่างจาก ฟรอยด์ที่เชื่อว่า “ทุกคนต้องผ่านพัฒนาการอย่างเป็นขั้นตอนตายตัว ตามแรงขับของสัญชาติญาณ”
ปมด้อยของนายเอ ก็คือ แม่ ที่ทิ้งเขาไป ทำไห้เขาโดดเดี่ยว หรือนายบี ที่มีปมด้อยที่ว่า เขาเป็นเด็กประเภท พวกไม่อยู่ในสายตา และเป็นเด็กที่ดูแหย เกินกว่าจะไปตอบโต้ใครได้

คนที่รู้จักเลือกวิธีการทำให้ตัวเองเด่นขึ้น เพื่อกลบปมด้อยของตัวเองได้ ก็จัดว่ามีไลฟ์สไตล์ชีวิตที่ดี ส่วนนายเอค่อนข้างก้ำกึ่ง ในตอนแรกๆที่ปูปม การเอาชนะปมด้อยของนายเอในช่วงแรกๆของนายเอคือ การสร้างเครื่องประหาร โดยฆ่าสัตว์แล้วเอามาโชว์ลงบนอินเตอร์เนท แต่ในทางกลับกันเขาก็สร้าง กระเป๋าเซอร์ไพรส์โจร และก็สามารถเอาชนะการประกวดได้

หากมองในช่วงแรก ฆ่าสัตว์แล้วเอามาโชว์ลงบนอินเตอร์เนท เป็นการแสดงผลงานและการสแสดงออกต่างๆ เป็นเพียงการกระทำเพื่อที่ตนเองเป็นที่ยอมรับของคนอื่นๆ ซึ่งการกระทำลักษณะที่ไห้ผู้คนยอมรับนี้พบเห็นได้ในโลกออนไลน์ มีตั้งแต่การแสดงที่สร้างสรรค์ จนถึงขั้นแสดงออกที่รุนแรง ซึ่งนี้คือปมด้อยของชาวไซเบอร์ ที่ในชีวิตจริงในสังคมนั้นขาดมิตรสหาย ไม่มีเพื่อนหรือใครที่ชื่นชม ความโดนเดี่ยวเหล่านี้ทำให้เป็นจุดพลักดันที่จะแสวงหาสิ่งที่ตรงกันข้าม และจุดนี้นี่เองจึงเป็นสิ่งที่ทำให้สร้างปมเด่นขึ้นมาทดแทนปมด้อยของตนเองได้แก่การทำอะไรก็ตามที่จะมีคนชื่นชมในโลกอินเตอร์เน็ท ในกรณีของ นายเอ คือ แม่ ของเขา นายเอนั้น ปล่อยให้ตัวเองจมปลักอยู่กับความคิดที่ว่า จะต้องทำให้แม่ตะลึงในความสามารถของเขา เขาจึงจะได้รับความสนใจจากแม่ของเขา นั้นคือสิ่งที่สะสมอยู่ภายในจิตใจจนทำให้เขาทำสิ่งที่อันตรายยิ่งขึ้นเรื่อยๆ หรือการที่ลูนาซี่วางยาพิษ แล้วเขียนลงบล๊อคส่วนตัวก็เพื่อที่จะทำไห้คนสนใจและโด่งดังซึ่งก็ทำได้สำเร๊จ วัยรุ่นต่างยกย่องเธอ
Kokuhaku image 12

ในทางตรงข้าม ถ้าไม่สามารถเลือกใช้วิธีการเอาชนะปมด้อยของตัวเองได้ทางใดทางหนึ่ง ปล่อยให้ด้อยแล้วด้อยอีก และคนรอบข้างยังคอยซ้ำเติมอีก ก็กลายเป็นคนมีปัญหา และออกไปทางต่อต้านสังคม ซึ่งก้เหมือนกรณีของนายบี นั่นเอง ซึ่งนาย บี ความโดเดี่ยวของเขานั้นพอๆกับนายเอ และด้วยเหตุนี้เขาหลงเชื่อ และ ถูกจูงจมูกได้ง่ายจึงมักจะตกเป็นเหยื่อของมิตรภาพจอมปลอม และเมื่อนายเอได้เข้ามาตีสนิท และเสนอแผนการบางอย่างขึ้นมา โลกที่โดดเดี่ยว มืดมิด ของนายบี ก็ดูสดใสขึ้นมา เพราะว่าเขาได้มี เพื่อน ดังนั้นเพื่อที่จะรักษาเพื่อนเอาไว้ และ อยากไห้ถูกนายเอ ยอมรับ เขาได้คิดแผนการที่อันตรายขึ้นมา

แต่เมื่อลงมือในแผนการสำเร็จ นายเอก็บอกความจริงไปว่า เขาแค่หลอกใช้เพื่อให้แผนเป็นไปตามที่เขาหวังไว้ แถมยังบอกว่า นายบีเป็นพวกไร้ประโยชน์ ทำไห้เกิดการ การแข่งขันในสิ่งที่ไม่สร้างสรรค์ เพื่อที่จะพิสูท เพื่อที่จะเอาชนะ นายบีจึงได้ลงมือทำในสิ่งที่ไม่สมควรทำลงไป โดยที่ไม่รู้ตัวเพราะเหมือนลูกโป่งที่อักลมจน ปริแตกออกมา มันเหมือนทฤษฎีของฟรอยด์ที่ว่าคนทุกคนล้วนมีความทุกข์ที่กักเก็บเอาไว้ในใจเสมอโดยที่ความทุกข์เหล่านั้นที่สั่งสมมานานกำลังหาทางระบายออกในรูปแบบต่างๆของมัน

สิ่งที่เปรียบเสมือนการซ้ำเติมคนที่มี ปมด้อย นั่นก็คือความสงสาร ความเห็นใจ เพราะยิ่งทำสิ่งเหล่านี้มากขึ้นเท่าไหร่ มันยิ่งเหมือนกับทำไห้ มีดูด้อยมากขึ้นเท่านั้น
สภาพแวดล้อม สังคม และการเลี้ยงดูบุตรก็มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล เป็นหนึ่งในทฤษฏีบุคลิกภาพของ อัลเฟรด แอดเลอร์ โดยกรณีของนายเอ ชองในวัยเด็ก มักจะถูก ผู้เป็นแม่ฝากความหวังไว้ตลอด เพื่อชดเชยสิ่งที่ตัวเองผิดพลาด ที่ตัวเองยอมเลิกอาชีพนักวิจัย บวกกับการถูกสอนโดยทางอ้อมมาว่าทำผิดแล้วต้องรับโทษ มันเลยขัดเกลาให้คนเกลียดความผิดพลาด ไม่ให้อภัยกับสิ่งที่ตนเองหรือผู้อื่นทำผิดพลาด เพราะเขาไม่เก่งในด้านกลไกไฟฟ้าแบบแม่ เขาคือคนที่ทำให้แม่ต้องผิดหวังจน ถึงขั้นทำร้าย ทุบตี เพราะตัวเองเชื่ออย่างฝังใจว่า นายเอ จะต้องเป็นแบบตัวเอง
rooftop

สิ่งแวดล้อมต่างผลต่อบุคล หนึ่งในนั้นก้คือ สื่อ เพียงแต่ สื่อนั้นสร้างผลกระทบได้กว้างมาก และสื่อในยุดปัจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป จันยาบรรณของสื่อทดถอยลง อย่างเช่นการเน้นเสนอข่าวที่รุนแรง และทำให้กลายเป็นสิ่งที่โด่งดัง ยกตัวอย่างเช่นกรณีคดีข่มขืน เมื่อเราไปพูดข่าวนี้ให้ไตรฟัง พูดที่ส่วนไหญ่จะออกมาจากปากคือ ใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ แทนที่จะพุดว่า น่าสงสาร
อย่างในกรณี นายเอ ที่อยากจะใช้ความสามารถในทางที่ดีเพื่อ เอาชนะ ปมด้อย และ ให้แม่ที่ทิ้งไปกลับมาหาเขา โดยการลงแข่งขัน สิ่งประดิษฐ์ และก็คว้าที่หนึ่งไปได้ แต่ทว่า ข่าวของเขากลับถูก คดีสังหารหมู่ของ ลูนาซี่ กลบข่าว จนทำให้นายเอ ไม่พอใจมาก และเริ่มคิดในใจลึกลงไปว่า ถ้าทำความดีแล้วไม่เป็นที่สนใจต่อสังคม การฆ่าใครสักคนเพื่อให้ความสนใจพุ่งมาที่ตัวเขาอาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดก็ได้

สื่อสมัยใหม่ก็มีผลเช่นเดียวกัน โดยเฉาะสื่อออนไลน์ หรือสื่ออินเตอร์เน็ท เราสามารถส่งผ่านความคิด ต่างๆไห้ผู้อื่นได้ง่ายดาย แน่นอนว่าวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัยต่างก็ มีปัญหาด้วยกันทั้งนั้น แต่สำหรับวัยรุ่นสมัยนี้ พวกเขาสามารถส่งความป่วย ปมด้อย ของตนไห้สังคมได้รับรู้กันได้อย่างง่ายดาย ในโลกออนไลน์ จนกลายเป็นว่า ทำให้คนที่มีปัญหาคล้ายๆกันมารวมตัวกันจนกลายเป็นแนวร่วม หรือการใช้ในประจาน หรือการโจมตีผู้อื่น อย่างที่มีในหนังสั้นเรื่อง มั่นใจว่าคนไทยเกินล้านเกลียดเมธาวี
อีกประเด็นหนึ่งที่ทางผู้สร้างมาใส่ในหนังและวิพากษ์วิจารณ์อย่างสนุกมือคือเรื่อง กฎหมายเยาวชน โดยเป็นสิ่งที่ผู้สร้างให้เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไม เด็กบางคนถึงได้ก่อเหตุรุนแรงและสะเทือนขวัญได้เพราะ ต่อให้ก่อเหตุรุนแรงแค่ไหนพวกเด็กที่ก่อเหตุก็จะส่งเข้าสถานฟื้นฟุทางจิต (ในประเทศไทย เด็กอายุ 14-17 ปีที่ก่อเหตุมักจะถูกส่งเข้าสถานฝึกและอบรมเด็ก ถ้าเกิน 17 แต่ไม่ถึง 20 รับโทษเท่าผู้ใหญ่ แต่อาจมีการลดโทษให้)

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าเมื่อเข้าไปแล้ว เด็กจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทุกคนเสมอไป โดยผู้สร้างได้แสดงความคิดและวิจารณ์กฎหมายนี้ ผ่านคำพูดของตัวล่ะคร อย่าง กรณีที่นายเอพูดใส่กล้องวีดีโอว่า “ผมแค่ฆ่าเด็กอายุเท่ากันไปอีกคน ยังไงกฎหมายเยาวชนก็เข้าข้างผม” นั่นกลายเป็นว่าสิ่งๆนี้กลายเป็นว่านอกจากจะไม่เกรงกลัวแล้วยังเอามาใช้เป้นเกราะป้องกันที่จะสามารถทำร้ายใครได้อีก
 
 
จิตวิทยา ความคิดของผมเกี่ยวกับสภาวะจิตด้านมืด / วิชาการ ดอทคอม
ทฤษฏีบุคลิกภาพของแอคเลอร์ (Adler’s Personality Theory)
วิบัติภัย ในวัยเยาว์ / Bioscope กรกฎาคม 2554

Comments

  1. บทความดีนะคะ แต่ขาดการเรียบเรียง อ่านแล้วงงนิดหน่อย บางคำไม่จำเป็นใส่มาแล้วทำให้ไม่กระชับจับใจความไม่ถูก แต่ชอบที่นำมาอ้างอิงกับทฤษฏีต่างๆทางจิตวิทยาค่ะ การแบ่งวรรคตอนแบ่งประโยคก้ทำให้สับสนค่ะ แต่ชอบเรื่องนี้มากๆดูแล้วดูอีกหลายรอบเลย

    ReplyDelete

Post a Comment

Popular posts from this blog

วิธีลงทะเบียนรับโปรแกรม CLIP STUDIO PAINT PRO ฟรี สำหรับผู้ที่ไช้ Wacom Intuos

ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี : ตำนานผู้สร้างโลกฉบับอีสาน